Lab 9 แบบจำลองราสเตอร์ (Raster model)

แบบจำลองราสเตอร์






การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างที่ฝังกลบขยะ
กำหนดปัญหา
1.ความเหมาะสมในแต่ละระดับมีพื้นที่เท่าใด
2.ในแต่ละพื้นที่ (อำเภอ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับใดบ้าง
กำหนดปัจจัยหรือตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์
1.ความลาดชัน
2.ลักษณะชั้นหินฐาน
3.ระยะห่างจากถนนสายหลัก
4.ระยะห่างจากชุมชน

วิเคราะห์ตัวแปรตัวที่ 1
1.เปิดชั้นข้อมูล Chon_elv และ Chon_pro ขึ้นมา โดยไปที่ Folder LandFill 
 2.จะปรากฏขึ้นมาดังภาพ จากนั้นทำการเปิดเครื่องมือ IDW ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > 3D Analyst Tools > Raster Interpolation > IDW
 3.จะปรากฏหน้าต่าง IDW ขึ้นมา ในช่อง Input point features ให้เลือกข้อมูล Chon_elv ช่อง Z value field เลือกฟิลด์ ele ซึ่งเก็บค่าความสูงไว้ ช่อง Output raster ให้เลือกfolder ที่ต้องการเซฟ แล้วตั้งชื่อ ในช่อง Output cell size ใส่ 40 จากนั้นคลิกที่ Environments
 4.จะปรากฏหน้าต่าง Environment Setting ขึ้นมา ไปที่ Processing Extent ในช่อง Extent ให้เลือก Same as layer Chon_pro
 5.ไปที่ Raster Analysis ในช่อง Mask ให้เลือก Chon_pro จากนั้นกด OK

การทำ slope
1.จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ จากนั้นทำการเปิดเครื่องมือ slope ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Slope
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Slope ขึ้นมา ในช่อง Input raster เลือก IDW
 3.ในช่อง Output raster ให้เลือก folder ที่ต้องการเซฟแล้วตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 4. จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ

การทำ Reclassify
1.ทำการเปิดเครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Reclass > Reclassify
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา ในช่อง Input raster เลือก slope  
 3. ในช่อง Reclass field ให้เลือก ฟิลด์ Value จากนั้นคลิกที่ Classify
 4.จะปรากฏหน้าต่าง Classification ขึ้นมา ในช่อง Method ให้เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Manual จากนั้นในช่อง Classes เลือก 4 แล้วค่อยกลับมาเลือกเป็น Manual
 5.ในช่อง Break Values ให้ใส่ค่าสูงสุดในแต่ละช่วง จากนั้นกด OK
 6. ในช่อง New Values ให้เปลี่ยนเป็นตัวเลข 3 2 1 0 ตามลำดับ ดังภาพ
 7. ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด Save แล้วกด OK
 8. ผลลัพธ์จะปรากฏดังภาพ

 วิเคราะห์ตัวแปรตัวที่ 2
1.เปิดชั้นข้อมูล Chon_geo ขึ้นมา โดยไปที่ Folder LandFill
 2.ทำการเปิดตารางข้อมูลขึ้นมา โดยคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก Open Attribute Table จะปรากฏตารางขึ้นมาดังภาพ
 3. ไปที่ Table Option เลือก Add Field เพื่อทำการเพิ่มฟิลด์
 4.จะปรากฏหน้าต่าง Add Field ขึ้นมา ในช่อง Name ให้ใส่ชื่อฟิลด์ Score ในช่อง Type ให้เลือกเป็น Short Integer ในช่อง Field Properties > Precision ให้ใส่ตัวเลข 2 จากนั้นกด OK
 5. ไปที่เครื่องมือ Selected by Attribute จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา
 6.ขั้นแรกคลิกที่ “DESC_T1 จากนั้นคลิกที่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่ Get Unique Values จากนั้นเลือกข้อมูลหินทราย(“DESC_T1= ‘หินกรวดมน หินฟิลไลต์ หินทราย หินทรายเนื้อภูเขาไฟกึ่งแปรสภาพ และหินชนวน’ OR DESC_T1= ‘หินทราย หินทรายเนื้อภูเขาไฟ หินปูน เนื้อดิน และหินปูนเนื้อไข่ปลา หินไรโอลิติกทัฟฟ์และแอนดิซิติกทัฟฟ์กึ่งแปรสภาพ หินดินดานเลนซ์ หินปูนเชิร์ต’ OR “DESC_T1”= ‘หินทราย หินปูน เนื้อดิน หินดินดาน และหินเชิร์ต’ OR “DESC_T1”= ‘หินทรายอาร์ดคส สีขาว มีหินกรวดมนและหินดินดานแทรกสลับ) เสร็จแล้วกด Apply
 7.จะปรากฏผลลัพธ์ขึ้นมาเป็นแถบสีฟ้า จากนั้นคลิกขวาที่ฟิลด์ Score_1 เลือก Field Calculator
 8.จะปรากฏหน้าต่าง Field Calculator ขึ้นมา ในช่อง Score_1 = ให้ใส่ 1 จากนั้นกด OK
 9.ในช่อง Score_1 จะปรากฏเลข 1 ในข้อมูลที่เราได้ทำการเลือกไว้
 10.ไปที่หน้าต่าง Selected by Attribute อีกครั้ง แล้วลบข้อมูลที่อยู่ในช่อง SELECET ออก จากนั้นคลิกที่ “DESC_T1 จากนั้นคลิกที่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่ Get Unique Values แล้วเลือกข้อมูลหินตะกอน(“DESC_T1= ‘ตะกอนชายฝั่งทะเลทะเลโดยอิทธิพล น้ำขึ้น-ลง โคลน ตม ทรายละเอียด ป่าชายเลน พรุ พื้นที่ชื้นแฉะ ชวากทะเล’ OR DESC_T1= ‘ตะกอนชายฝั่งทะเลโดยอิทธิพลคลื่น ทรายหาด สันดอนทราย เนินทราย’ OR “DESC_T1”= ‘ตะกอนที่ราบสะสมโดยทางน้ำ ตะกอนกรวด ทราย ทรายแป้ง ดิน สะสมตามร่องน้ำ และที่ราบน้ำท่วมถึง’ OR “DESC_T1”= ‘ตะกอนสะสมตัวตามเชิงเขา ตะกอนผุพังอยู่กับที่ เศษหิน ทราย ดิน ชั้นศิลาแลง’ OR “DESC_T1”= ‘ตะกอนเนินตะพัก ชั้นกรวด ทราย ทรายแป้ง ดิน และหินลูกรัง) เสร็จแล้วกด Apply
 11. จะปรากฏผลลัพธ์ขึ้นมาเป็นแถบสีฟ้า จากนั้นคลิกขวาที่ฟิลด์ Score_1 เลือก Field Calculator
 12.จะปรากฏหน้าต่าง Field Calculator ขึ้นมา ในช่อง Score_1 = ให้ใส่ 2 จากนั้นกด OK
 13.ในช่อง Score_1 จะปรากฏเลข 2 ในข้อมูลที่เราได้ทำการเลือกไว้
 14. ไปที่หน้าต่าง Selected by Attribute อีกครั้ง แล้วลบข้อมูลที่อยู่ในช่อง SELECET ออก จากนั้นคลิกที่ “DESC_T1 จากนั้นคลิกที่เครื่องหมาย = แล้วคลิกที่ Get Unique Values แล้วเลือกข้อมูลหินอื่นๆ (“DESC_T1= ‘หินฟิลไลต์ หินฟิลไลต์เนื้อปนถ่าน และหินฟิลไลต์เนื้อซิลิกา’ OR DESC_T1= ‘หินไบโอไทต์แกรนิต ทัวมารีนแกรนิต ไบโอไทต์ มัสโคไวต์แกรนิต แกรโนไดโอไรต์ มัสโคไวต์ทัวมารีนแกรนิต ไบโอไทต์ทัวมารีนแกรนิต’ OR “DESC_T1”= ‘ ) เสร็จแล้วกด Apply
 15.จะปรากฏผลลัพธ์ขึ้นมาเป็นแถบสีฟ้า จากนั้นคลิกขวาที่ฟิลด์ Score_1 เลือก Field Calculator
 16.จะปรากฏหน้าต่าง Field Calculator ขึ้นมา ในช่อง Score_1 = ให้ใส่ 3 จากนั้นกด OK
 17.ในช่อง Score_1 จะปรากฏเลข 3 ในข้อมูลที่เราได้ทำการเลือกไว้

ทำการ Conversion
1.ไปที่ ArcToolbox > Conversion Tools > To Raster > Polygon to Raster จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Polygon to Raster ขึ้นมา
 2. ในช่อง Input Features เลือก Chon_geo ในช่อง Value field เลือกฟิลด์ FID ในช่อง Output Raster Dataset ให้เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเซฟและตั้งชื่อ ในช่อง Cellsize ให้ใส่ 40 จากนั้นกด OK
 3. ผลลัพธ์จะปรากฏดังภาพ
 4.ทำการเปิดชั้นข้อมูล Chon_tran และ Chon_pro ขึ้นมา จะปรากฏดังภาพ
 5.เปิดเครื่องมือ Euclidean Distance ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Euclidean Distance
 6.จะปรากฏหน้าต่าง Euclidean Distance ขึ้นมา ในช่อง Input raster เลือก Chon_tran ในช่อง Output distance raster ให้เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเซฟแล้วตั้งชื่อ ในช่อง Output cell size ให้ใส่ 40 จากนั้นคลิกที่ Environments
 7.จะปรากฏหน้าต่าง Environment Setting ขึ้นมา ในส่วนของ Processing Extent ในช่อง Extent เลือก Same as layer Chon_pro
 8.ไปที่ Raster Analysis ในช่อง Mask ให้เลือก Chon_pro จากนั้นกด OK
 9.จะปรากฏผลลัพธ์ดังภาพ
10.ทำการเปิดเครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Reclass > Reclassify จะปรากฏหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา โดยในช่อง Input raster เลือก Tran จากนั้นกด Classify
 11.จะปรากฏหน้าต่าง Classification ขึ้นมา ในช่อง Method ให้เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Manual จากนั้นในช่อง Classes เลือก 4 แล้วค่อยกลับมาเลือกเป็น Manual 
 12.ในช่อง Break Values ให้ใส่ค่าที่สูงที่สุดในแต่ละช่วง นั่นคือ 1000 2000 3000 ตามลำดับ จากนั้นกด OK
 13. ในช่อง New Values ให้เปลี่ยนเป็นตัวเลข 0 1 2 3 ตามลำดับ ดังภาพ ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด Save แล้วกด OK
 14.ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏดังภาพ
 15.ทำการเปิดชั้นข้อมูล Chon_vill จากโฟลเดอร์ LandFill ขึ้นมา
 16.เปิดเครื่องมือ Euclidean Distance ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Euclidean Distance จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ในช่อง Input raster เลือก Chon_vill ในช่อง Output distance raster ให้เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเชฟแล้วตั้งชื่อ ในช่อง Output cell size ให้ใส่ 40 จากนั้นนคลิกที่ Environments
 17.ไปที่ Processing Extent ในช่อง Extent เลือก Same as layer Chon_pro
 18. ไปที่ Rastr Analysis ในช่อง Mask เลือก Chon_pro จากนั้นกด OK
 19.ผลลัพธ์จะปรากฏดังภาพ
 20. ทำการเปิดเครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Reclass > Reclassify จะปรากฏหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา โดยในช่อง Input raster เลือก vill จากนั้นกด Classify
 21.จะปรากฏหน้าต่าง Classification ขึ้นมา ในช่อง Method ให้เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Manual จากนั้นในช่อง Classes เลือก 4 แล้วค่อยกลับมาเลือกเป็น Manual ในช่อง Break Values ให้ใส่ค่าที่สูงที่สุดในแต่ละช่วง นั่นคือ 1000 2000 3000 ตามลำดับ จากนั้นกด OK
 22.ในช่อง New Values ให้เปลี่ยนเป็นตัวเลข 0 1 2 3 ตามลำดับ ดังภาพ ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการเชฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด Save แล้วกด OK
 23.ผลลัพธ์จะปรากฏขึ้นมาดังภาพ
 24.ทำการแสดงข้อมูลเพียง Re_slope Re_tran Re_vill จากนั้น ทำการเปิดเครื่องมือ Raster Calculator ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Map Algebra > Raster Calculator  
 25. จะปรากฏหน้าต่าง Raster Calculator  ขึ้นมา ให้ทำการใส่ค่า ดังนี้
(3*” “Re_slope”)+(2* “Re_geo”)+(3* “Re_tran”)+(4* “Re_vill”)
ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 26.ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏเป็นแผนที่รวม

การจัดกลุ่มพื้นที่เหมาะสม
1. ทำการเปิดเครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา โดยไปที่ ArcToolbox > Spatial Analyst Tools > Reclass > Reclassify จะปรากฏหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา โดยในช่อง Input raster เลือก sum จากนั้นกด Classify
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Classification ขึ้นมา ในช่อง Method ให้เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ Manual จากนั้นในช่อง Classes เลือก 3 แล้วค่อยกลับมาเลือกเป็น Manual ในช่อง Break Values ให้ใส่ 15.09278 ซึ่งจะได้มาจาก Mean – Sum และ 27.464068 จะได้จาก Mean + SD จากนั้นกด OK
 3.ในช่อง New Values ให้เปลี่ยนเป็นตัวเลข 1 2 3 ตามลำดับ ดังภาพ ในช่อง Output raster ให้ทำการเลือก Folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด Save แล้วกด OK
 4.ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏดังภาพ
 5.สามารถดูความเหมาะสมได้จากตาราง Attribute โดยคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล แล้วเลือก Open Attribute Table จะปรากฏตารางดังภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น