Lab 6 การวิเคราะห์พื้นผิว (Surface Analysis)

การวิเคราะห์พื้นผิว (Surface Analysis)



1.ทำการเปิดข้อมูล idw2 ขึ้นมา โดยไปที่ Folder Interpolation
 2.ข้อมูลจะปรากฏขึ้นมา ดังภาพ จากนั้นทำกรเปิดแถบเครื่องมือ 3D Analyst โดยการ คลิกขวาบริเวณเมนูบาร์ แล้วเลือก 3D Analyst
 3.จะปรากฏแถบเครื่องมือ 3D Analyst ขึ้นมา
 4. คลิกที่เครื่องมือ Create Contours แล้วคลิกไปยังพื้นที่ที่ต้องการสร้างเส้น Contour
 5.การใช้เครื่องมือ create contour จะได้เส้นคอนทัวร์1เส้น ต่อการคลิกหนึ่งครั้งหากต้องการลบเส้น Contour ให้เลือกเครื่องมือ Select Elements แล้วเลือกเส้น Contour ที่ต้องการลบ จากนั้นกด Delete ได้เลย
 6.หากต้องการสร้างเส้น Contour หลายเส้นทีเดียวพร้อมกัน ทำการเปิดเครื่องมือ Country โดยไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Country
 7. จะปรากฏหน้าต่าง Contour ขึ้นมา
 8. ในช่อง Input เลือก idw2
ในช่อง Output เลือก Folder ที่ต้องการเซฟ  และตั้งชื่อ
ในช่อง Contour Interval คือระยะห่างระหว่างเส้น contour ให้ใส่ 100 เมตร จากนั้นกด OK
 9. จะปรากฏเส้น contour ที่มีระยะห่าง 100 เมตร ดังภาพ
 10. ทำการใส่ Label ให้กับเส้น Contour โดยการ คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล contour เลือก Properties จะปรากฏหน้าต่าง Layer Properties ขึ้นมา ไปที่ Labels ในช่อง Label Field ให้เลือก CONTOUR จากนั้น กด OK
คลิกขวา ที่ข้อมูล contour เลือก Label Features เพื่อให้ปรากฏเลขชั้นความสูงขึ้น

การวิเคราะห์แนวการมองเห็น line of sight
1.เลือกใช้เครื่องมือ Create Line of Sight
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Line Of Sight ขึ้นมา
 3. คลิกที่จุดเริ่มต้นไปและคลิกที่จุดเป้าหมาย ที่ต้องการทราบแนวการมองเห็นโดยแนวเส้นสีเขียว คือจุดที่มองเห็น แต่ในแนวเส้นสีแดง คือพื้นที่ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ (คำนวณจากเส้นความสูง) จุดสีดำ คือ จุดสังเกตการณ์ จุดสีแดง คือ จุดเป้าหมายที่เราจะมอง

 การวิเคราะห์ทิศทางการไหล (การสร้างแบบจำลองการตกของวัตถุ)
1.ไปที่เครื่องมือ Create Steepest Path
 2.ทำการคลิกที่ข้อมูล จะปรากฏเส้นการไหลของวัตถุ

การแสดงภาพตัดขวาง (profile)
1.ไปที่เครื่องมือ Interpolate Line 
 2.ทำการลากเส้นขึ้นมา 1 เส้น
 3.ไปที่เครื่องมือ Create Profile Graph
 4.จะปรากฏกราฟที่แสดงภาพตัดขวางในบริเวณนั้น ขึ้นมาดังภาพ โดยในแนวแกน x จะบอกระยะทาง ในแนวแกน y จะบอกความสูง

การเปรียบเทียบแนวภาพตัดขวาง
1.สร้างเส้นเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เส้น
 2.ทำการเปลี่ยนสีให้กับแต่ละเส้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างมากยิ่งขึ้น โดยคลิกขวาที่เส้น เลือก Properties
 3. ไปที่เครื่องมือ Create Profile Graph เพื่อเปรียบเทียบลักษณะพื้นผิว จะปรากฏกราฟทั้งสองเส้นขึ้นมา เพื่อเปรียบเทียบ

ความลาดชัน (slope)
ค่าความลาดชัน มี 2 หน่วย คือ เปอร์เซ็นและองศา
การคำนวณหาค่าความชัน คืออัตราการเปลี่ยนแปลงจากพิกเซลนึงไปยังอีกพิกเซลนึงที่ใกล้เคียง
1.ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Slope
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Slpoe ขึ้นมา
 3.ในช่อง Input ให้เลือก idw2
ในช่อง Output Raster ให้เลือก folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ
ในช่อง Output measurement ให้เลือก DEGREE เลือกการคำนวณแบบองศา จากนั้นกด OK
 4. จะปรากฏดังภาพ โดยความลาดชันนำมาคำนวณและวัดได้ ซึ่งหน่วยที่ได้เป็น องศา
 5.ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Slope จะปรากฏหน้าต่าง Slope ขึ้นมา
ในช่อง Input ให้เลือก idw2
ในช่อง Output Raster ให้เลือก folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ
ในช่อง Output measurement ให้เลือก PERCENT_RISE จากนั้นกด OK 
 6.จะปรากฏดังภาพ โดยความลาดชันสารมารถนำมาคำนวณและวัดได้ ซึ่งหน่วยที่ได้จะเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยข้อมูลที่ได้จากการคำนวณทั้งสองไม่ควรจะต่างกัน เนื่องจากคำนวณจากชั้นความสูงเดียวกัน

การวิเคราะห์ทิศทางการหันเหของความลาดชัน (aspect)
เป็นการกำหนดความลาดชันที่จะรับแสง โดยจะวัดตามเข็มนาฬิกาจาก 0-360 มีหน่วยเป็น องศา ค่าของทุกเซลล์จะบ่งบอกทิศทางการหันเหของความลาดชัน โดยพื้นที่ที่เป็น Flat slope จะไม่มีทิศทาง และมีค่าเป็น -1 เสมอ

1.ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Aspect
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Aspect ขึ้นมา
 3.ในช่อง Input raster เลือก idw2
 4.ในช่อง Output raster เลือก Folder ที่ต้องการจะเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 5.จะปรากฏดังภาพ
 6.เมื่อทำการ Zoom In
 7.หากต้องการทราบค่าความสูงใด ให้ Zoom เข้าไปที่พิกเซลสี จากนั้นคลิก เครื่องมือ Identify แล้วคลิกที่บริเวณสีที่ต้องการทราบค่ามุม
 8.หน้าต่าง Identify จะบอกถึงการหันเห ของสีว่าตกกระทบเป็นมุมกี่องศา

การวิเคราะห์การตกกระทบของแสง (hillshade)
-ดูความมืดความสว่าง เพื่อดูว่าพิกเซลใดได้รับแสงมากเท่าใด มีค่าเริ่มจาก 0-255 พิกเซลใดที่มีค่าต่ำจะความมืดสูงซึ่งแสดงว่าบริเวณนั้นได้รับแสงน้อย ข้อมูลที่ได้จะเป็น greyscale
-มีการกำหนดมุม azimuth เป็นทิศทางของแสงอาทิตย์ วัดจากทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา 0-360 องศา
-มุม altitude คือมุมเงย หน่วยเป็นองศา วัดจากแนวราบ ถึง เหนือศีรษะทวนเข็มนาฬิกา มีค่า 0-90 องศา
1.ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Hillshade
 2.จะปรากฏหน้าต่าง Hillshade ขึ้นมา
 3. ในช่อง Input เลือก idw2
 4.ในช่อง Output เลือก Folder ที่ต้องการจะเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 5.จะปรากฏเป็นลักษณะพื้นผิวที่แสงสว่างตกกระทบบนพื้นผิวของวัตถุ ค่าของแสงที่ตกกระทบมีค่า 0-255  
 6.ทำการ Zoom In จากนั้น คลิกที่เครื่องมือ Identify แล้วคลิกที่พิกเซลที่ต้องการทราบค่าแสงตกกระทบ
 7.จะปรากฏค่าแสงตกกระทบในหน้าต่าง Identify  คือ 211 สามารถนำไปใช้ทำพื้นหลังแผนที่เนื่องจากมีลักษณะเป็นสามมิติได้

 การวิเคราะห์พื้นที่การมองเห็น (viewshed)
ผลลัพธ์ที่ได้มี visible และ not visible คือมองเห็นได้จากจุดสังเกต และมองไม่สามารถมองเห็นได้
1.ทำการสร้างข้อมูลจุดขึ้นมา
 2.เปิดแถบเครื่องมือ Editor ขึ้นมา โดยคลิกขวาแล้วไปที่ Editor
 3.เลือก Start Editing ในแถบเครื่องมือ Editor
 4.ทำการ Digitized ข้อมูลจุดลงไป
 5.ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Viewshade
 6.จะปรากฏหน้าต่าง Viewshed ขึ้นมา ในช่อง Input rasterเลือก idw2
 7.ในช่อง Input point เลือก resort (ข้อมูลจุด)
 8. ในช่อง Output เลือก Folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 9.จะปรากฏดังภาพ โดยพื้นที่สีเขียวคือ พื้นที่ที่สามารถมองเห็นได้ ส่วนสีชมพูคือ บริเวณที่มีสิ่งกีดขวางการมองเห็น

การประมาณปริมาตรในการขุดและการถมที่ (cut-fill)
ต้องใช้สองข้อมูลในการคำนวณ คือข้อมูลก่อนการเปลี่ยนแปลง และหลังการเปลี่ยนแปลง
1.ทำการเปิดข้อมูล DEM_AFTER และ DEM_BEFORE ขึ้นมา โดยไปที่ Prachinburi > Cut_Fill
 2. ไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Surface > Cut Fill
 3.จะปรากฏหน้าต่าง Cut Fill ขึ้นมา ในช่อง Input before raster surface เลือก DEM_BEFORE.tif
 4. ในช่อง Input after raster surface เลือก DEM_AFTER.tif
 5. ในช่อง Output ลเอก Folder ที่ต้องการเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้น กด OK
 6. จะปรากฏดังภาพ โดยสีแดง คือ มีการพัดของตะกอนทับถม
สีน้ำเงิน คือ บริเวณที่มีการชะล้าง
สีเทา คือ บริเวณที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
 7.คลิกขวาที่ ข้อมูล cutfill เลือก Open Attribute Table
 8. ในฟิลด์ COUNT คือ พิกเซล
 9.ในฟิลด์ VOLUME คือ net loss หน่วยคือ ลบ.ม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น