Lab 3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูล



1.ทำการสร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า Projection 
 2.จากนั้น Copy ข้อมูลที่ชื่อว่า Chaopaya ใน LAB11
 3.นำมาวางไว้ใน Folder ที่ชื่อว่า Projection
 4.ทำการเปิดข้อมูลโพลิกอนที่ชื่อ Chaopaya
 5.ที่มุมขวาล่างของโปรแกรม หรือ Status Bar จะปรากฏหน่วยเป็น Unknown Units สามารถทำการเปลี่ยนหน่วยแผนที่ โดยไปที่ View > Data Frame Properties
 6.จะปรากฏหน้าต่าง Data Frame Properties ขึ้นมา เลือก General
 7.ในช่อง Map ให้เลือกเป็น Meters
 8.ในช่อง Display ให้เลือกเป็น Meters เช่นเดียวกัน จากนั้นกด OK
 9.ในแถบ Status Bar ได้เปลี่ยนเป็น Meters เรียบร้อยแล้ว
 10. สามารถทำการกำหนดมาตราส่วนได้ดังภาพ เลือก <Customize This List…>
 11.จะปรากฏหน้าต่าง Scale Setting ขึ้นมา
 12.หากต้องการเพิ่มมาตราส่วนเข้าไป ให้พิมพ์มาตราส่วนที่เราต้องการ ในที่นี้ 1:50,000 จากนั้นกด Add
 13.จะปรากฏมาตราส่วนที่เราใส่ไปในช่อง Standard ดังภาพ
 14. หากต้องการลบมาตราส่วน ให้เลือกมาตราส่วนที่ต้องการจะลบ จากนั้นกด Delete
 15. จากนั้น กด OK
 16.คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก Properties
 17.จะปรากฏหน้าต่าง Layer Properties ขึ้นมา จากนั้นไปที่ Source เพื่อดูข้อมูลค่าพิกัดของชั้นข้อมูล Chaopaya ว่ามีแล้ว หรือค่าพิกักถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในที่นี้ยังไม่มีค่าพิกัดใดๆ เราจึงจะทำการค่าพิกัด จากนั้นกด OK
 18. ไปที่ Arc Toolbox > Data Management Tools > Projections and Transformations > Define Projection
 19.จะปรากฏหน้าต่าง Define Projection ขึ้นมา
 20. ในช่อง Input Dataset ให้เลือก Chaopaya
 21.ในช่อง Coordinate System ให้คลิกที่รูปมือ
 22.จะปรากฏหน้าต่าง Spatial Reference Properties ขึ้นมา
 23. คลิกที่ Select จะปรากฏหน้าต่าง Browse for Coordinate System ขึ้นมา จากนั้นทำการเลือกค่าพิกัด WGS 1984 UTM Zone 47N.prj แล้วกด  Add
 24.ค่าพิกัดที่เราเลือกจะมาอยู่ในช่อง Details  จากนั้นกด OK
 25. กด OK
 26.ทำการตรวจสอบ ค่าพิกัดที่เราได้ทำการตั้งค่าไว้ โดยคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก Properties จะปรากฏหน้าต่าง Layer Properties ขึ้นมา ไปที่ Source เมื่อทำการตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด OK


การแปลงพิกัดภูมิศาสตร์เป็นกริด
1.การจะแปลงพิกัดต้องทำการ New Map File ทุกครั้ง
 2.เปิดชั้นข้อมูลโพลิกอนที่ชื่อว่า country  ขึ้นมา  โดยไปที่ LAB11 > World > country
 3. ไปที่ Arc Toolbox > Data Management Tools > Projections and Transformations >Feature > Project
 4.จะปรากฏหน้าต่าง Project ขึ้นมา

 5. ในช่อง Input เลือก country
 6.ในช่อง Output Dataset ให้เลือก Folder ที่ต้องการเซฟ และทำการตั้งชื่อ
 7. ในช่อง Output Coordinate System ให้คลิกที่มือ
 8. จะปรากฏหน้าต่าง Spatial Reference Properties ขึ้นมา ให้กด Select เพื่อทำการเลือกพิกัด
 9.ทำการเลือกพิกัด WGS 1984 World Mercator.prj จากนั้นกด Add
 10. จากนั้น กด OK
 11.ในช่อง Table Of Contents จะมีชั้นข้อมูลอันใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า country_utm ซึ่งเป็นชั้นข้อมูลที่เราได้ทำการแปลงค่าพิกัดเรียบร้อยแล้ว

การแปลงพื้นที่หลักฐาน
1. ทำการเปิดชั้นข้อมูลโพลิกอนที่ชื่อว่า Province_WGS84UTM47N ขึ้นมา โดยไปที่ LAB11   
 2. ข้อมูลจะปรากฏดังภาพ จากนั้นเปิดชั้นข้อมูล Bangkok_Indian1975UTM47N โดยไปที่ LAB11
  3. คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล Bangkok แล้วเลือก Zoom To Layer เพื่อ Zoom เข้าไปในเขตของ Bangkok
 4. จะเห็นได้ว่าชั้นข้อมูลทั้งสองอัน มีการเหลื่อมล้ำกันเล็กน้อย
 5. วิธีการแปลงพื้นหลักฐานทำได้โดย คลิกขวาบริเวณ Display Area เลือก Data Frame Properties
 6. จะปรากฏหน้าต่าง Data Frame Properties  ขึ้นมา
 7. คลิกที่ Transformations
 8.จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ในช่อง  Convert from ให้เลือก CGS Indian_1975
 9. ในช่อง Into เลือก GCS_WGS_1984
 10. ในช่อง Using ให้กด New ที่ด้านขวา
 11.จะปรากฏหน้าต่าง New Geographic Transformation ขึ้นมา
 12. ในช่อง Parameters > Name X ช่อง Value ใส่ค่า 206 Name Y ใส่ค่า 837 Name Z ใส่ค่า 295 จากนั้นกด OK
 13. เมื่อทำการเปลี่ยนค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏดังภาพ จะเห็นว่าชั้นข้อมูล Bangkok และ Province จะทับกันสนิทพอดี

การทำ Append
คือ การรวมข้อมูลจุด เส้น โพลิกอน (โดยปกติอาจใช้ merge หรือ union)
การ merge ต่างจากการ append คือ
Merge – เมื่อทำการรวมข้อมูลแล้ข้อมูลเดิมทั้งสองข้อมูลยังคงอยู่
Append – เมื่อทำการรวมข้อมูลแล้ว ข้อมูล A กับข้อมูล B โดยที่ข้อูมล A ยังคงอยู่ แต่ข้อมูล B จะโดนเพิ่มข้อมูล

1.ทำการ Copy ข้อมูลโพลิกอน LU5038i และ LU5138iv ใน LAB12 ลงไว้ใน Folder ที่ชื่อ Projection
 2.เปิดชั้นข้อมูลทั้งสองที่อยู่ใน Folder Projection ขึ้นมา
 3. ทำการเปิดเครื่องมือ Append โดยไปที่ Arc Toolbox > Data Management Tools > General > Append
 4. จะปรากฏหน้าต่าง Append ขึ้นมา ดังภาพ
 5.ในช่อง Input ให้ใส่ข้อมูลที่จะนำไปรวม นั่นคือ LU5138iv

 6.ในช่อง Target ให้เลือก LU5038i
 7.ในช่อง Schema Type ให้เลือก NO_TEST จากนั้น กด OK
 8. เมื่อทำการ Append เรียบร้อยแล้ว จะได้ดังภาพ

การทำ Erase
1.ทำการเปิดชั้นข้อมูล WATER และ SOIL จาก LAB12 > PathumThani
 2. คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล WATER แล้วทำการ Zoom To Layer
 3.ทำการเปิดเครื่องมือ Erase ขึ้นมา โดยไปที่ Arc Toolbox > Analysis Tools > Overlay > Erase
 4. จะปรากฏหน้าต่าง Erase ขึ้นมา ดังภาพ
 5.ในช่อง Input ให้ใส่ข้อมูลที่ต้องการจะตัด นั่นคือ SOILS
ในช่อง Erase ให้ใส่ข้อมูลที่เป็นเสมือนแม่พิมพ์ นั่นคือ WATER
ในช่อง Output ให้เราทำการเลือก Folder ที่ต้องการจะเซฟ และตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 6.เมื่อทำการ Erase เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ ดังภาพ

การทำ Reclassify หรือการจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ใช้ได้เฉพาะข้อมูล ราสเตอร์หรือข้อมูลกริด
1.ทำการเปิดข้อมูลราสเตอร์ที่ชื่อว่า Prachindem30m ขึ้นมา โดยไปที่ Prachinburi
 2.ทำการเปิดเครื่องมือ Reclassify ขึ้นมา โดยไปที่ Arc Toolbox > 3D Analyst Tools > Raster Reclass > Reclassify
 3.จะปรากฏหน้าต่าง Reclassify ขึ้นมา
 4.ในช่อง Input เลือกข้อมูลที่ต้องการทำการ Reclass นั่นคือPrachindem30m.tif
 5.จากนั้นคลิกเลือก Classify
 6.จะปรากฏหน้าต่าง Classification ขึ้นมา
 7.ในช่อง Break Values ทำการใส่ค่าช่วงตามต้องการ จากนั้นกด OK
 8.ในช่อง Output ให้เราเลือก Folder ที่ต้องการจะเซฟ และทำการตั้งชื่อ จากนั้นกด OK
 9.เมื่อทำการ Reclassify เสร็จเรียบร้อยจะปรากฏ ดังภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น